ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider คือ หน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา
2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป
ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด
ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน Technician Support นี่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราควรจะต้องพิจารณา เพราะหากการใช้บริการของเรามีปัญหา เราจะได้มั่นใจว่าทาง ISP จะมีการดูแลแก้ไขให้ได้อย่างทันท่วงที และเราจะสามารถสอบถามการบริการใหม่ๆได้อยู่เสมอ รวมถึงบริการเสริมต่างๆก็เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณาด้วยเช่นเดียวกัน
เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ที่ทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอนุญาตให้สมาชิกจัดเก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เช่น เนื้อที่ที่ให้จัดเก็บอีเมล์หรือจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไปที่ดาวน์โหลดจากแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะให้พื้นที่เก็บข้อมูลประมาณ 2 MB
ค่าบริการรายเดือน ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการรายเดือนจะถูกกำหนดตามชั่วโมงของการใช้งาน จำนวนชั่วโมงในการใช้งานยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะเสียค่า บริการเพิ่มมมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาที่ค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วย เพราะบาง ISP จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่บาง ISP จะไม่มีการเรียกเก็บ
หลังจากที่เราเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการติดต่อขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับ ISP ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการ 18 แห่งด้วยกัน คือ
1. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด
3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด
4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด
5. บริษัท เอเน็ต จำกัด
6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด
8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด
9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด
10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด
11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด
12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด
15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด
16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด
17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด
18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)
ISP มีการให้บริการอยู่ 2 ประเภท คือ
1. Narrow band
Modem ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจะต้องใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต เราควรตรวจสอบโมเด็มที่เราใช้งานอยู่ว่าเป็นโมเด็มแบบใด 33.6Kbps หรือ 56 Kbps เนื่องจากโมเด็มมีมาตรฐานหลายแบบ ดังนั้น ควรตรวจสอบดูว่า ISP นั้นๆ สามารถรองรับโมเด็มของเราได้หรือไม่ ทั้งในด้านความเร็วและมาตรฐานต่างๆ เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน
2. Broadband
Cable Modem สำหรับบ้านเรา ยังเป็นของใหม่ ที่เริ่มมีให้บริการจากผู้ให้บริการหลายราย เช่น TelecomAsia เป็นต้น Cable Modem เป็น Modem ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้รับบริการตามบ้าน กับผู้ให้บริการ (Service Provider) โดยผ่านทางเครือข่ายสาย Cable TV ที่มีอยู่แล้ว เช่น การใช้ร่วมกับสาย Cable ของ UBC เป็นต้น โดยทั่วไปการเชื่อมต่อของ Cable Modem จะมีอยู่ 2 จุดได้แก่ การเชื่อมต่อที่มีปลายด้านหนึ่งไปที่ จุดเชื่อมต่อสาย Cable TV บนผนัง ขณะที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เชื่อมต่อกับ เครื่อง PC
อุปกรณ์ Cable Modem มักจะเป็นอุปกรณ์ภายนอก ที่เชื่อมต่อกับ PC ผ่านทาง LAN Card ตามมาตรฐาน Ethernet 10Base-T และสายตีเกลียว ส่วนตัว Cable Modem มักจะเป็น ตัว Modem ภายนอก ที่เชื่อมต่อกับ PC โดยตรงโดยทาง Universal Serial Bus (USB) หรือ เป็นแบบ Internal ที่ติดตั้งบน PCI Bus
อัตราความเร็วในการทำงานของ Cable Modem ขึ้นอยู่กับระบบของมันที่ใช้ ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของเครือข่าย และปริมาณการใช้งาน หรือ ความหนาแน่นในการใช้งานของเครือข่าย โดยปกติแล้วการส่งถ่ายข้อมูลเชิง Downstream (จากเครือข่ายสู่คอมพิวเตอร์) อัตราความเร็วของมันสามารถทะยานสู่ 27 Mbps ได้อย่างสบาย โดยอัตราความเร็วนี้ อาจถูกเฉลี่ยออกไปตามจำนวนของผู้เข้ามาใช้ในเครือข่ายขณะนั้น และก็เป็นเรื่องยากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ บนเครือข่ายสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วขนาดนั้น ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ 1-3 Mbps เท่านั้น อย่างไรก็ดี อัตราความเร็วยังขึ้นอยู่กับ ผู้ให้บริการ อีกทั้งยังแตกต่างไปตามชนิดและ ข้อตกลงในการให้บริการอีกด้วย อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล เชิง Upstream (จากคอมพิวเตอร์สู่เครือข่าย) จะมีค่าที่ต่ำกว่า Downstream เช่นเดียวกับกับ ADSL อัตราความเร็วที่สามารถส่งถ่ายแบบ Upstream จะอยู่ที่10 Mbps อย่างไรก็ดี ทั้งผู้ผลิต Cable Modem และผู้ให้บริการเครือข่าย ได้กำหนดความเหมาะสมที่ความเร็ว 500Kbps ไปจนถึง 2.5 Mbps แต่ก็มีผู้ให้บริการบางรายได้กำหนดความเร็ว Upstream จำกัดที่ 256 Kbps เท่านั้น
การที่ Cable Modem มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ทั้งขาล่องขึ้นและล่องลง ไม่เท่ากัน นี่เอง จึงถูกเรียกว่า เป็นการทำงานแบบ Asymmetric และได้รับมาตรฐานการทำงานที่ถูกกำหนดโดย DOCSIS EuroDOCSIS และ DVB EuroModem
ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
• งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
• ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
• ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
• การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
• ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
• ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
• ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
• สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง
ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3.การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
ค่าใช้จ่ายสูง
วิดิโอการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต